The relation between residential magnetic field exposure from power lines and mortality from neurodegenerative conditions was analyzed among 4.7 million persons of the Swiss National Cohort (linking mortality and census data), covering the period 2000–2005. Cox proportional hazard models were used to analyze the relation of living in the proximity of 220–380 kV power lines and the risk of death from neurodegenerative diseases, with adjustment for a range of potential confounders. Overall, the adjusted hazard ratio for Alzheimer's disease in persons living within 50 m of a 220–380 kV power line was 1.24 (95% confidence interval (CI): 0.80, 1.92) compared with persons who lived at a distance of 600 m or more. There was a dose-response relation with respect to years of residence in the immediate vicinity of power lines and Alzheimer's disease: Persons living at least 5 years within 50 m had an adjusted hazard ratio of 1.51 (95% CI: 0.91, 2.51), increasing to 1.78 (95% CI: 1.07, 2.96) with at least 10 years and to 2.00 (95% CI: 1.21, 3.33) with at least 15 years. The pattern was similar for senile dementia. There was little evidence for an increased risk of amyotrophic lateral sclerosis, Parkinson's disease, or multiple sclerosis.
---------------------------------------------------------------------------------------------
คนเรามักจะมีความรู้สึกไม่ดีเมื่อต้องอยู่บ้านที่ใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงเสมอ แต่ก็ยังไม่มีการศึกษาที่ดูแนวโน้มดังกล่าวมาก่อน วันนี้ คุณ Anke Huss และนักวิจัยจาก University of Bern สวิตเซอร์แลนด์ ได้คำตอบบางส่วนแล้วครับ
นักวิจัยได้ทำการศึกษาชาวสวิสที่อยู่ใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงขนาด 220-380kV ในช่วงปี 2000 ถึง 2005 โดยเมื่อทำการขจัดตัวแปรกวนออกไปแล้วพบว่า ผู้ที่พักอาศัยอยู่ใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงในระยะ 50 เมตรมีโอกาสไม่แตกต่างจากผู้ที่อยู่ไกลออกไปในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ (ถ้าพูดเป็นภาษาสถิติคือมีโอกาสเป็น 1.24 เท่าโดย 95%CI 0.80-1.92)
อย่างไรก็ดีเมื่อคิดเรื่องเวลาแล้ว ผู้ที่อาศัยเป็นเวลานานกว่า 10 ปี และ 15 ปีมีโอกาสเป็นอัลไซเมอร์มากกว่าผู้ที่อยู่ไม่ถึง 5 ปีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผู้ที่อยู่ใกล้สายไฟฟ้า 10 ปีมีโอกาสเป็นอัลไซเมอร์มากกว่า 1.51 เท่า (95%CI 0.91-2.51) และผู้ที่อยู่นานถึง 15 ปีมีโอกาสเป็นมากกว่า 1.78 เท่า (95%CI 1.07-2.96) นอกจากนี้ผลการศึกษากับโรคสมองเสื่อมในวัยชรา (senile dementia) ยังพบความเสี่ยงในแบบเดียวกัน แต่สำหรับโรคอื่นเช่นพาร์กินสันแล้วไม่พบความสัมพันธ์ดังกล่าว
โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) คือโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่มีอาการความจำเสื่อม บุคลิกภาพเสื่อมและไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีปัญหาในการดูแลตนเองเช่นไม่สามารถทานอาหารได้เองหรือ เข้าห้องน้ำเองได้ สาเหตุยังไม่เป็นที่แน่ชัดแต่เชื่อว่าเกิดจากการสะสมของโปรตีน Amyloid beta ในสมอง
No comments:
Post a Comment