Wednesday, November 18, 2009

เกือบตายเพราะเหล้า



ผู้ป่วยชายรายหนึ่งอายุ 46 ปี ภรรยาและลูกนำส่งโรงพยาบาล เนื่องจากเพ้อคลั่ง กินอาหารไม่ได้ อาเจียนมาก เป็นมา 2 วัน

"เป็นอะไรมาครับ" หมอถาม
"แกชอบดื่มแต่เหล้า สองวันนี้อาเจียนมาก เพ้อ เอะอะโวยวาย ทานอะไรไม่ได้ค่ะ"
ภรรยาตอบ
"มีไข้ไหมครับ" หมอซักต่อ
"เอ่อ.. ก็ตัวเย็นนะคะ"Ž
"มีโรคประจำตัวอะไรไหมครับ"Ž
"เป็นความดันโลหิตสูง แล้วก็ขาบวมค่ะ"Ž
"มียาที่กินประจำอะไรบ้างครับ เอาติดมาด้วยหรือเปล่า"
Ž
เมื่อ หมอได้ดูยาแล้วก็แน่ใจว่าเป็นยาขับปัสสาวะที่นิยมใช้กรณีที่มีอาการบวมร่วม กับความดันโลหิตสูง จากนั้นก็ตรวจร่างกายผู้ป่วย พบว่ามีภาวะคลุ้มคลั่งสับสน เนื่องจากตับแข็ง ขาดวิตามินบี 1 และเสียสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย หรืออาจจะเกิดจากการหยุดดื่มเหล้ากะทันหัน

หลังจากรักษาแล้ว วันรุ่งขึ้นก็พูดรู้เรื่องและกลับบ้านได้ในวันที่สาม หมอได้ให้คำแนะนำดังนี้
" คุณมีตับแข็งจากผลของเหล้า ซึ่งจะทำให้เกิดอาการบวม แต่ถ้ากินยาขับปัสสาวะเพื่อลดบวม ก็จะทำให้เกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ อาจเกิดคลุ้มคลั่งสับสนได้อีก ดังนั้นต้องหยุดทำร้ายตับโดยการหยุดดื่มเหล้าและบำรุงร่างกาย แต่การที่คุณติดเหล้าจะหยุดกะทันหันไม่ได้ หมอจะให้ยากล่อมประสาทและยาควบคุมประสาทอัตโนมัติ จะช่วยไม่ให้เกิดความรู้สึกอยากดื่มจนทนไม่ไหว ลดอาการสั่นกระตุก และช่วยให้หลับได้ คาดว่าจะใช้ยาไป 1-2 สัปดาห์"
Ž
"แต่คุณจะต้องตั้งสัจจะเลยนะว่าจะไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ตลอดไป จำไว้ว่าคุณจะอายุสั้นมาก หากตับคุณแข็งมากไปกว่านี้" หมอย้ำเรื่องสำคัญ
"แล้วผมจะอยู่ได้นานแค่ไหนครับ"
" ผมบอกไม่ได้ อาจจะเป็นเดือน เป็นปี หรือหลายๆ ปี ขึ้นอยู่กับว่าคุณปฏิบัติตัวดีแค่ไหน ที่สำคัญคือต้องหยุดดื่มเหล้าเพื่อไม่ให้ตับถูกทำร้ายมากขึ้น ตับของคุณอาจจะดีขึ้นบ้างไม่มากก็น้อย แล้วต้องบำรุงร่างกายด้วยอาหารที่มีประโยชน์ ควรงดพวกไขมันสัตว์ ลดอาหารพวกเนื้อสัตว์ เพิ่มการกินพวกถั่วต่างๆ เต้าหู้ ธัญพืช ผักสด ผลไม้สด"Ž

"ต้องหยุดทำร้ายตับโดยการหยุดดื่มเหล้าและบำรุงร่างกาย"Ž

ผู้ป่วยก็รับฟังอย่างตั้งใจ แต่ตอนที่บอกให้เลิกเหล้านี่สิ ดูไม่ค่อยอยากจะรับปากเท่าไหร่
เมื่อ พูดถึงอันตรายจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดูเหมือนว่าไม่ค่อยมีใครกลัวเพราะผลร้ายไม่เกิดทันที แต่ผลที่ทำให้ผู้ดื่มรู้สึกดีรู้สึกสนุกเห็นผลชัดกว่า นานๆดื่มทีไม่เป็นไร แต่หากดื่มเป็นประจำก็จะเกิดโรคตับแข็ง เบาหวาน สมองเสื่อม ความดันโลหิตสูง ไตพัง ขาดสติจนเกิดอุบัติเหตุ บางคนไม่ต้องรอให้ตับแข็งก็ตายจากไข้โป้งไปก่อนแล้วเพราะไปทำความรำคาญให้ ชาวบ้านเขา

หลายคนคงเคยได้เห็นหรือได้ยินการประชาสัมพันธ์ ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อรณรงค์ลดการดื่มเหล้า โดยมีการโฆษณาทั้งในโทรทัศน์และสื่ออื่นๆ ที่ว่า "ให้เหล้า = แช่ง" ซึ่งตอนนี้เริ่มจะอยู่ในความรู้สึกของคนไทยแล้ว หลายๆ คนชักไม่กล้าที่จะให้ของขวัญกันด้วยเหล้า เพราะกลัวคนรับจะคิดมาก เลยเลี่ยงไปให้อย่างอื่นดีกว่า ถือว่าการรณรงค์นี้ได้ผลดีทีเดียว

แต่ก็อยากให้มีการประชาสัมพันธ์เพื่อตอกย้ำอย่างต่อเนื่องต่อไป โดยอาจจะเน้นที่อันตรายของเหล้าและทำให้ดูน่ากลัวยิ่งขึ้น

แล้วเป้าหมายของรัฐที่อยากให้คนไทยดื่มเหล้ากันน้อยลงก็จะเป็นจริงได้

9 ข้อต้องรู้ของผู้ใช้ไมโครเวฟ



คลื่นไมโครเวฟที่ใช้ในการปรุงอาหาร คือคลื่นชนิดใด
คลื่น ไมโครเวฟ (microwave) ที่ใช้ปรุงอาหารคือคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าเหมือนคลื่นวิทยุ คลื่นโทรทัศน์ คลื่นแสงอินฟราเรด (infrared) คลื่นแสงธรรมดา แสงอัลตราไวโอเลต (ultraviolet) คลื่นรังสีเอกซ์ และ คลื่นรังสีแกมมา

คลื่นไมโครเวฟทำให้อาหารสุกได้อย่างไร
คลื่น ไมโครเวฟที่ใช้ปรุงอาหารจะมีความถี่คลื่น 2,450 ล้านรอบต่อวินาที (หรือ 2,150 เมกะเฮิรตซ์) เมื่อคลื่นพุ่งไปกระทบอาหารจะถ่ายทอดพลังงานของมันให้โมเลกุลของน้ำทั้งใน และนอกอาหารเกิดการ สั่นสะเทือนเสียดสีกันเป็นความร้อน จึงทำให้อาหารสุกอย่างรวดเร็ว
เมื่อคลื่นไมโครเวฟมอบพลังงานให้อณูของน้ำหมดแล้ว มันก็จะสลายตัวไป ไม่สะสมอยู่ในอาหารอีก

ในทางการแพทย์มีการนำคลื่นชนิดนี้มาใช้ในการรักษาบ้างหรือไม่
ทางการ แพทย์นำคลื่นไมโครเวฟมาใช้ในการรักษาบ้างเหมือนกัน แต่เป็นคลื่นไมโครเวฟที่มีความถี่คลื่นน้อยกว่าไมโครเวฟที่ใช้ปรุงอาหาร เพราะต้องการเพียงความร้อนขนาดอุ่นๆ สบายๆ หรือความร้อนสูงขึ้นอีกเล็กน้อยขนาดพอทนได้ เช่น ทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูใช้ไมโครเวฟความถี่ต่ำเพื่อใช้คลายอาการปวดกล้ามเนื้อ หรือปวด ตามข้อซึ่งมีความร้อนขนาดอุ่นๆ กำลังสบายๆ
ทางด้านรังสีรักษาและ ระบบทางเดิน ปัสสาวะใช้ไมโครเวฟความถี่สูงขึ้นกว่าทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู ให้ความร้อนสูงขึ้นแต่ไม่ถึงจุดเดือด ใช้รักษาทำลายเซลล์มะเร็งเฉพาะที่ตื้นๆ ร่วมกับการรักษาด้วยรังสีและยารักษามะเร็ง เครื่องเดียวกันนี้ยังสามารถใช้รักษาโรคต่อมลูกหมากโตในชายผู้สูงอายุบาง รายได้ด้วย

คลื่นที่ใช้ในไมโครเวฟมีอันตรายหรือไม่
คลื่น ไมโครเวฟที่ใช้ในการปรุงอาหารไม่มีอันตรายต่อสุขภาพ เพราะคลื่นจะสลายตัวไปไม่สะสมในอาหาร เมื่อกินอาหารที่ทำให้สุกด้วยไมโครเวฟจึงไม่เกิดอันตรายใดๆทั้งสิ้น

การจ้องมองแสงในขณะที่เครื่องกำลังทำงานมีอันตรายต่อดวงตาจริงหรือไม่
ไม่ จริง เพราะคลื่นไมโครเวฟไม่สามารถจะทะลุทะลวงผ่านผนังตู้และฝาตู้ออกมาได้ และแสงที่เรามองเห็นในตู้ไม่ใช่แสงของคลื่นไมโครเวฟ แต่เป็นแสงของดวงไฟฟ้าที่ติดตั้งไว้ให้เห็นสิ่งที่อยู่ภายในตู้ขณะเครื่อง ทำงานเท่านั้นเอง

อาหารที่ผ่านการปรุงด้วยไมโครเวฟจะมีรังสีตกค้างหรือปะปนมาในอาหารหรือไม่
ไม่มี เพราะรังสีเป็นคลื่นพุ่งผ่านแล้วมอบพลังงานของมันให้กับสิ่งที่มันพุ่งผ่านไป เมื่อพลังงานของมันหมดมันก็สลายตัวไป

ข้อควรระวังในการใช้เครื่องไมโครเวฟ
1. เลือกซื้อเครื่องจากบริษัทที่เชื่อถือได้ มีมาตรฐาน มีการรับรองคุณภาพการผลิต ฝาตู้ต้องปิดได้แน่นสนิท ไม่มีรอยรั่ว
2. ก่อนใช้ต้องอ่านคู่มือการใช้ให้ละเอียด ทำให้ถูกต้องตามขั้นตอน
3. ไม่ควรวางของหนักหรือเหนี่ยว โหนประตูตู้ในขณะที่ประตูเปิดอยู่ เพราะจะทำให้ฝาตู้ปิดไม่สนิท มีคลื่นไมโครเวฟรั่วออกมาได้ระหว่างใช้
4. เมื่อตู้ชำรุด ไม่ควรแก้ไขเอง ควรติดต่อช่างที่ชำนาญมาแก้ไข
5. ไม่ควรใช้ดวงตาแนบกับฝาตู้ขณะเครื่องทำงาน เพื่อความไม่ประมาท
6. ควรติดตั้งเครื่องให้ห่างจากผนังด้านหลัง ด้านข้างไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร และให้ห่างจากโทรทัศน์และวิทยุให้มากที่สุด
7. การจะวัดว่ามีคลื่นไมโครเวฟรั่วไหลออกมาจากเครื่อง ทำได้โดยใช้เครื่อง Survey Meter ซึ่งสามารถติดต่อกับเจ้าหน้าที่กองรังสีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข หรือบริษัทใหญ่ๆ ที่ขายเครื่องไมโครเวฟ จะมีบริการการวัดคลื่นไมโครเวฟที่รั่วออกมาให้ได้

อายุการใช้งานของเครื่องและการดูแลมีส่วนสำคัญในเรื่องของความปลอดภัยอย่างไร
อายุ การใช้งานของเครื่องขึ้นอยู่กับการใช้งานและวัสดุโครงสร้างของเครื่อง เมื่อใช้ตู้ไปแล้วต้องเช็ดทำความสะอาดตู้สม่ำเสมอ อย่าปล่อยให้เศษอาหารกระเด็นค้างอยู่ในตู้เป็นระยะเวลานานๆ เพราะความเค็มของอาหารจะทำให้เหล็กตู้เป็นสนิมจนเกิดรอยทะลุ และห้ามใช้ของมีคมขูดหรือขัดตู้

ข้อแนะนำทั่วไปสำหรับการใช้ไมโครเวฟที่ถูกต้องและปลอดภัย

1. เลือกภาชนะที่ใช้กับตู้ไมโครเวฟให้เหมาะสม เช่น ชามแก้วทนไฟ ชามกระเบื้อง พลาสติกทนความร้อน ภาชนะไม้ จานกระดาษห้ามใช้ภาชนะโลหะทุกชนิดกับตู้ไมโครเวฟ หรือภาชนะกระเบื้องที่มีขอบสีเงินขอบสีทอง
2. ควรใช้ฝาชี พลาสติกทนความร้อนครอบอาหาร (ในลักษณะไม่ต้องปิดฝาแน่น) เสียก่อนเริ่มเปิดใช้เครื่องไมโครเวฟ เพื่อไม่ให้คราบอาหารกระเด็นไปติดตู้ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการทำความสะอาดตู้ 3. ไม่ควรนำอาหารที่มีผิวมันหรือมีเปลือกแข็งเข้าไปทำให้สุกในตู้ เพราะความร้อนทำให้อากาศภายในอาหารขยายตัว ประกอบกับไอน้ำที่เกิดขึ้นมีแรงดันสูง จะทำให้เกิดระเบิดเสียงดังได้ ควรใช้ส้อมจิ้มผิวอาหารหรือเปลือกอาหารให้เป็นรูเสียก่อน เพื่อป้องกันการปะทุที่เกิดจากความร้อนภายในอาหารขยายตัว
4. หมั่นทำความสะอาดภายในเครื่อง

ตู้ ไมโครเวฟถ้ารู้จักใช้ให้ถูกวิธีจะมีประโยชน์มาก เพราะสะดวกรวดเร็ว ประหยัด เหมาะสำหรับชีวิตปัจจุบันซึ่งต้องเร่งรีบไปหมดทุกอย่าง ที่สำคัญอย่าลืมซื้อเครื่องที่มีมาตรฐาน มีการรับรองคุณภาพ อ่านคู่มือก่อนใช้ และเลือกภาชนะที่ใช้ให้เหมาะสม หากเครื่องดีไม่มีรอยรั่ว อันตรายจากไมโครเวฟจะไม่เกิดขึ้นเลย